วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โหลดแนวข้อสอบตำรวจ รองสารวัตร (พนักงานสอบสวน) ใหม่ล่าสุด ปี 2559

โหลดแนวข้อสอบตำรวจ รองสารวัตร (พนักงานสอบสวน) ใหม่ล่าสุด ปี 2559

เนื้อหาประกอบด้วย

ภาค ก. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป 
1. ความสามารถทั่วไป
  แนวข้อสอบอนุกรม/คณิตศาสตร์/วิเคราะห์ข้อมูลขากตาราง กราฟ แผนภูมิ
  แนวข้อสอบอุปมา-อุปไมย/ตรรกศาสตร์/เงื่อนไขภาษา เงื่อนไขสัญญาลักษณ์
  แนวข้อสอบการเขียนประโยค/การเติมคำในช่องว่าง/การเรียงลำดับ
2.ภาษาไทย
  แนวข้อสอบความเข้าใจภาษา การอ่านบทความสั้น/การอ่านบทความยาว

ภาค ข. วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

  แนวข้อสอบ ป.อาญา
  แนวข้อสอบ ป.วิ อาญา
  แนวข้อสอบ พยานหลักฐาน
  แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  แนวข้อสอบ พรบ.ปฏิบัติราชการทางการปกครอง 2539
  แนวข้อสอบ ภาษาอังกฤษ
  แนวข้อสอบจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
  แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  แนวข้อสอบ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง
  แนวข้อสอบ พรก.ว่าด้วยการบริหารบ้านเมืองที่ดี

ข้อสอบ ครบ ครอบคลุม เข้าใจง่าย มีอฺธิบายคำ

ตอบ วิชากฎหมายมีอธิบายรายละเอียดยาว 

หมดปัญหากับการปวดหัวว่าจะอ่านอะไรดี
เพราะเราได้รวบรวมแนวข้อสอบ  พร้อมเฉลยไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
อ่านง่าย เข้าใจเร็ว สรุปสาระสำคัญพร้อมเฉลย
ประหยัดเวลาในการอ่าน จำง่าย
เหมาะที่สุดสำหรับการเตรียมตัวสอบ

รวมทุกอย่างที่ใช้สอบในครั้งนี้  ในราคาเพียง 398 บาท

สนใจสั่งซื้อแนวข้อสอบติดต่อ



ตัวอย่างแนวข้อสอบลักษณะพยาน

 ***************

๑.    เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาและจำเลยให้การปฏิเสธแล้ว  ศาลจะนัดคู่ความทำอะไรต่อไปก่อน
                ๑.  นัดสืบพยานโจทก์                                                        
                ๒.  นัดสืบพยานจำเลย
                ๓. นัดชี้สองสถาน                                                             
                ๔.  นัดตรวจพยานหลักฐาน


๒.     ในคดีอาญา  คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่ากี่วัน
               ๑.    ๓   วัน                                                                            
               ๒.   ๗  วัน
               ๓. ๑๕   วัน                                                                         
               ๔. ๑๔   วัน


๓.    ผู้ใดไม่ต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความ
              ๑.  เด็กอายุ  ๑๕  ปีบริบูรณ์                                              
              ๒.  ภิกษุเขมร
              ๓. ผู้แทนพระองค์                                                             
              ๔. ไม่มีข้อใดถูก


๔.    ผู้ใดแม้มาเบิกความจะไม่ยอมตอบคำถามใดๆก็ได้
                ๑.  พระรัชทายาท                                                               
                ๒. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
                ๓. สามเณร                                                                        
                ๔. ถูกทุกข้อ


๕.     ข้อใดถูกต้อง
                ๑.  เจ้าพนักงานตำรวจค้นบ้านจำเลยโดยไม่มีหมายค้น  ยึดได้เมทแอมเฟตามีนของกลางการค้นไม่ชอบทำให้การสอบสวนไม่ชอบ  พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
                ๒. เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับจำเลยในบ้านโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น  ย่อมทำให้การสอบสวนไม่ชอบ  ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
                ๓. การค้นบ้านที่เกิดเหตุเจ้าพนักงานแสดงบัตร ป.ป.ส.โดยมารดาของจำเลยยินยอมให้ค้นโดยไม่มีหมายค้น  ศาลรับฟังของกลางที่ยึดได้จากบ้านที่เกิดเหตุได้
                ๔. เจ้าพนักงานดักฟังโทรศัพท์จำเลยคุยกับพวกของจำเลยโดยมิชอบได้ความว่าของกลางซุกซ่อนอยู่ที่บ้านของจำเลย  จึงได้เข้าตรวจค้นโดยมีหมายค้นของกลางดังกล่าวรับฟังเป็น
พยานหลักฐานได้


๖.  ในคดีฆาตกรรม  ตำรวจพบศพซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นศพผู้ตายหรือไม่จึงให้สุนัขของผู้ตายมาดมที่ศพ  สุนัขแสดงอาการดีใจว่าเป็นนายของมันตำรวจที่มาเบิกความถึงกิริยาของสุนัขดังกล่าวเป็นพยานชนิดใด
                ๑.  พยานบอกเล่า                                                                
                ๒. ประจักษ์พยาน
                ๓. พยานแวดล้อม                                                              
               ๔.  พยานชั้นสอง


๗.  คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ  ทำแผนที่เกิดเหตุ  และให้ความเห็นจากการตรวจที่เกิดเหตุและแผนที่เกิดเหตุประกอบกัน ว่าเหตุเกิดเพราะความผิดของฝ่ายใด
เป็นพยานชนิดใด
                ๑.  พยานบอกเล่า                                                                
                ๒. พยานแวดล้อม
                ๓. พยานประพฤติเหตุ                                                      
                ๔.  พยานโดยตรง
      

๘. การที่โจทก์อ้างว่าผู้เสียหายถูกทำร้าย  จึงขอให้ศาลตรวจดูบาดแผลบนใบหน้าของผู้เสียหาย 
การที่ให้ศาลตรวจดูบาดแผลบนใบหน้าผู้เสียหายเช่นนี้  เป็นพยานชนิดใด
                ๑.  พยานบุคคล                                                                   
                ๒. พยานโดยตรง
                ๓. พยานวัตถุ                                                                     
               ๔.  พยานความเห็น


๙. ข้อใดมิใช่คำบอกกล่าวของผู้ถูกทำร้ายก่อนตาย
                ๑.  ผู้ตายถูกกระสุนปืนตัดอวัยวะในช่องท้องเลือดออกมาก  แสดงอาการเจ็บปวดและพูด
ท่าทางจะไม่รอดแล้วผู้ตายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ ๑ ชั่วโมง  โดยก่อนตาย ระบุ  จำเลยเป็นคนร้าย
                ๒. ผู้ตายระบุชื่อจำเลยกับพวกเป็นคนร้ายในขณะมีอาการเพียบหยัก  โดยยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายถึงสามครั้ง  ก่อนที่จะทุรนทุรายแล้วถึงแก่ความตาย
                ๓. ผู้ตายบอกกับพยานขณะที่พยานเข้าไปช่วยห้ามเลือดที่คอของผู้ตาย  ว่าจำเลยทั้งสามเป็นคนทำร้ายผู้ตาย
                ๔. ผู้ตายถูกทำร้ายบาดเจ็บเป็นอย่างมาก  วิ่งมาขอความช่วยเหลือจาก  อ.  และพูดบอกถึงคนร้ายที่ทำร้ายตนแล้วเงียบเสียงไป  พูดไม่ได้  และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา


๑๐. ข้อใดไม่ถูกต้อง
                ๑.  ห้ามโจทก์อ้างจำเลยในคดีเดียวกันเป็นพยาน
                ๒. ไม่ห้ามโจทก์อ้างจำเลยในคดีอื่นเป็นพยาน
                ๓. ห้ามโจทก์อ้างจำเลยในคดีอื่นเป็นพยาน
                ๔. ไม่ห้ามโจทก์อ้างผู้ต้องหาด้วยกันเป็นพยาน



******************************************************************************************************

ตัวอย่างแนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ชุด 3

******************

1.     ใครคือผู้กำหนดวันเวลาทำงานและวันหยุด ของข้าราชการตำรวจในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ใน
        การปฏิบัติหน้าที่
        ก.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ                      ข.  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
        ค.  คณะรัฐมนตรี                                         ง.   ก.ต.ช.
 ตอบ   ง.      ก.ต.ช.  (ย่อมาจาก  คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ)
มาตรา 9  วัน เวลาทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณีวันหยุดราชการประจําปีและ
        การลาหยุดราชการของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด แต่ในกรณีจําเป็น
        เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช. จะกําหนดให้ข้าราชการตํารวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม
        วันเวลาที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้

2.     ข้อใดคือชั้นของข้าราชการตำรวจ
        ก.  สัญญาบัตร                                             ข. พลตำรวจ
        ค.  ประทวน                                                  ง.   ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง.      ถูกทุกข้อ
มาตรา 25  ชั้นข้าราชการตำรวจ มีดังต่อไปนี้
            (1)  ชั้นสัญญาบัตร   ได้แก่  ผู้มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป 
            (2)  ชั้นประทวน  ได้แก่  ผู้มียศสิบตำรวจตรี  สิบตำรวจโท  สิบตํารวจเอก จ่าสิบตํารวจ และดาบตำรวจ
            (3)  ชั้นพลตำรวจ   ได้แก่   พลตำรวจสำรอง

3.     ข้อใด ไม่ใช่ กรรมการโดยตำแหน่งของ ก.ตร.
        ก.  ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ               ข.  ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
        ค.  รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ                  ง.  จเรตํารวจแห่งชาติ
ตอบ  ก.      ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ   (ก.ตร.  ย่อมาจาก  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ)

 4.     ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่
        เปลี่ยนแปลงไป  และไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่  เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ
        รายจ่ายจากรัฐสภาเพื่อการนั้นแล้ว  การปรับอัตราเงินเดือนให้กระทำโดย
        ก.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา                         ข.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ
        ค.  ตราเป็นข้อบังคับ                                    ง.  ตราเป็นหนังสือ
ตอบ  ก.      ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
                ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป  ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มร้อยละเท่ากันทุกอัตรา  และไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่  และเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายจากรัฐสภา   เพื่อการนั้นแล้วการปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

5.     มาตรา 3  ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ให้ยกเลิกความในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติตำรวจ
        แห่งชาติ  พ.ศ. 2547
        ก.  มาตรา  66                                              ข.  มาตรา  67
        ค.  มาตรา  68                                              ง.  มาตรา  69
ตอบ  ข.      มาตรา  67
                มาตรา 3  ให้ยกเลิกความใน มาตรา 67  แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2547  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                        มาตรา 67  อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือนฯลฯ

6.     มาตรา 4  ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ให้ยกเลิกความในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2547
        ก.  มาตรา  66                                              ข.  มาตรา  67
        ค.  มาตรา  67                                              ง.  มาตรา  69
ตอบ  ค.  มาตรา  67
                มาตรา 4  ให้ยกเลิกความใน  (5)  (6)  (7)  (7)  (9)  (10) และ (11) ของวรรคหนึ่งของมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2547  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                 “(5) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ  ส.5  ถึง  ส.6
            (6) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก  ให้ได้รับเงินเดือนระดับ  ส.4  ถึง  ส.5
            (7) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท  ให้ได้รับเงินเดือนระดับ  ส.3  ถึง  ส.4
            (8) ข้าราชการตำรวจยศดาบตำรวจ  ให้ได้รับเงินเดือนระดับ  ส.2  ถึง  ส.3
                        ฯลฯ

7.     การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ  จะต้องปรับตามข้อใด
ก.     อันดับและขั้น                                      ข.  ระดับและชั้น
ค.   ชั้นและขั้น                                            ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ
                การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้เข้าอันดับและขั้น  ระดับและชั้น  ระดับและขั้น  หรือชั้นและขั้น  แล้วแต่กรณี  ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.ตร. กำหนด  และให้มีผลเป็นการแก้ไขขั้นหรือชั้นเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้ในกฎหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

8.     ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 67  วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2547  ให้นำกฎหมายฉบับใดมาบังคับก่อน
ก.  พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง  พ.ศ. 2537
ข.  พระราชกฤษฎีกาเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง  พ.ศ. 2537
ค.  ข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง  พ.ศ. 2537
ง.  ข้อบังคับเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่ง  พ.ศ. 2537
ตอบ  ก.  พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
                 มาตรา 6  ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 67  วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2547  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  ให้นำพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่งที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง  พ.ศ. 2537  มาใช้บังคับกับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม

9.     การประเมินสมรรถภาพ  ความประพฤติ  ความรู้ความสามารถ  และผลการปฏิบัติหน้า  ใครเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
ก.  นายกรัฐมนตรี                                      ข.  คณะรัฐมนตรี
ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย            ง.  ก.ตร.
ตอบ  ง.  ก.ตร.
                 “ข้าราชการตำรวจตาม  (5)  (6)  (7)  (7)  (9)  (10)  หรือ  (11)  ซึ่งได้รับเงินเดือน      เต็มขั้นสูงสุดของระดับที่ตนได้รับอยู่ในขณะนั้นในปีงบประมาณใด  หากผ่านการประเมินสมรรถภาพความประพฤติ  ความรู้ความสามารถ  และผลการปฏิบัติหน้าที่แล้ว  ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นตามที่กำหนดไว้ใน  (5)  (6)  (7)  (7)  (9)  (10)  หรือ  (11)  แล้วแต่กรณีอีกหนึ่งระดับ  โดยเริ่มต้นให้ได้รับเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิม
                การประเมินสมรรถภาพ  ความประพฤติ  ความรู้ความสามารถ  และผลการปฏิบัติหน้าที่  รวมทั้งการได้รับเงินเดือนภายหลังผ่านการประเมิน  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.ตร.  กำหนด

10.    ข้อใดถูก
ก.  ข้าราชการตำรวจต้องรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนเท่านั้น
ข.  กองบัญชาการหมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ค.  กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ง.  กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ตอบ ข.  กองบัญชาการ หมายความว่า ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ (มาตรา. 4)
                    ตาม มาตรา. 4 “ ข้าราชตำรวจหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง   ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือน จากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการส่วนตัวเลือกอื่น

***********************************************************

แนวข้อสอบ

 - แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
 - แนวข้อสอบภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
 - แนวข้อสอบประมวลกฎหมายอาญา !!!รวบรวมให้แบบเต็มๆ เข้าใจง่าย
 - แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา !!!รวบรวมให้แบบเต็มๆ เข้าใจง่าย
 - แนวข้อสอบกฎหมาย ลักษณพยาน(ป.วิอาญา) !!!รวบรวมให้แบบเต็มๆ เข้าใจง่าย
 - แนวข้อสอบ พรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี 2546
 - แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
 - แนวข้อสอบ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม
 - และอื่นๆอีก ครบครอบคลุมทุกวิชา ซื้อที่นี่ที่เดียว จบ********







แนวข้อสอบ ป.วิอาญา
วิชา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1. นายดวงเป็นโจทก์ฟ้องนายเด็ดเป็นจำเลยข้อหาฆ่านางเดือนภริยาของนายดวงโดยเจตนาต่อมาพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายดวงศาลอนุญาตแล้ว ในระหว่างพิจารณาคดีปรากฏว่านายดวงและพนักงานอัยการมีความเห็นขัดแย้งกันในการที่จะนำพยานเข้าสืบ ทั้งนายดวงและพนักงานอัยการต่างยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งห้ามอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานบางคนเข้าสืบเพราะเห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย ให้วินิจฉัยว่า นายดวงและพนักงานอัยการจะมีอำนาจดำเนินการได้เพียงใด ( เนติ 56 )
ก. พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามนายดวงนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบได้ เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในนามของแผ่นดินแต่นายดวงไม่มีอำนาจดำเนินการเช่นนั้น
ข. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามนายดวงนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบ เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นโจทก์ร่วม
ค. นายดวงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามพนักงานอัยการนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบได้ เนื่องจากนายดวงฟ้องคดีก่อน
ง. แล้วแต่ศาลเห็นสมควร เพื่อการยุติธรรม

2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายชวดจำเลยฐานลักรถจักรยาน 1 คัน ราคา 2,000 บาทของนายฉลู กรรมหนึ่ง และฐานยักยอกเครื่องรับวิทยุ 1 เครื่อง ราคา1,000 บาท ของนายฉลู อีกกรรมหนึ่งโดยขอให้นายชวดคืนหรือใช้ราคารถจักรยานและเครื่องรับวิทยุดังกล่าวให้แก่นายฉลู ผู้เสียหายด้วยศาลพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องฐานลักทรัพย์เพราะนายชวดขาดเจตนาทุจริต และยกฟ้องฐานยักยอกเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์แล้วให้วินิจฉัยว่า ศาลจะสั่งให้นายชวด คืนหรือใช้ราคารถจักรยาน และเครื่องรับวิทยุดังกล่าวให้แก่นายฉลูได้หรือไม่ ( เนติ 56 )
ก. ศาลสั่งไม่ได้ เนื่องจากคดีอาญามีคำพิพากษายกฟ้อง
ข. คดีลักทรัพย์สั่งคืนหรือใช้ราคาได้ ส่วนคดียักยอกสั่งไม่ได้ เพราะอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ค. คดีลักทรัพย์สั่งคืนหรือใช้ราคาไม่ได้ ส่วนคดียักยอกสั่งได้ เพราะไม่ได้ยกฟ้องในความผิด
ง. ศาลสั่งคืนหรือชดใช้ราคาได้ทั้งสองคดี เพราะคำพิพากษาส่วนอาญาไม่ผูกพันทางแพ่ง

3. นายคดยักยอกเงินของนายซื่อไปจำนวน 500,000 บาท นายซื่อได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายคดไว้แล้วต่อมานายซื่อฟ้องนายคดเป็นคดีอาญาในความผิดฐานยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หากนายซื่อได้ฟ้องนายคดต่อศาลเป็นคดีแพ่งขอให้บังคับนายคดคืนเงินที่ยักยอกไป แล้วต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยนายคดยอมคืนเงินทั้งหมดด้วยการผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดให้บังคับคดีได้ทันทีและนายซื่อไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายคดอีก กรณีนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของนายซื่อระงับไปหรือไม่หรือ ( เนติ 56 )
ก. คดีอาญาระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันแล้วทั้งทางอาญาและทางแพ่ง
ข. คดีอาญาระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันในคดีความผิดต่อส่วนตัว
ค. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันเฉพาะทางแพ่ง
ง. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะยังไม่มีการถอนคำร้องทุกข์

4. นายคดยักยอกเงินของนายซื่อไปจำนวน 500,000 บาท นายซื่อได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายคดไว้แล้วต่อมานายซื่อฟ้องนายคดเป็นคดีอาญาในความผิดฐานยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หากนายซื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะเหตุได้นำคดีอาญาไปฟ้องเองแล้ว จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของนายซื่อระงับไปหรือไม่ ( เนติ 56 )
ก. คดีอาญาระงับ เพราะมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย
ข. คดีอาญาระงับ เพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัว
ค. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะถอนคำร้องทุกข์หลังจากฟ้องคดีเอง
ง. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะคนละกระบวนการยุติธรรม

5. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2547 นายเสียงร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโทแสงว่า นายสีลักแจกันลายครามของนายเสียงไป ร้อยตำรวจโทแสงรับคำร้องทุกข์และทำการสอบสวน นายสีทราบว่ามีผู้กล่าวหาตน จึงเข้าพบร้อยตำรวจโทแสงเพื่อต่อสู้คดี ร้อยตำรวจโทแสงแจ้งข้อหาลักทรัพย์และสอบสวนนายสี นายสีให้การปฏิเสธ ร้อยตำรวจโทแสงจึงให้นายสีทำประกันและวางหลักประกัน แต่นายสีไม่มีหลักประกัน ร้อยตำรวจโทแสงจึงควบคุมตัวนายสีไว้ การควบคุมตัวนายสีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 56 )
ก. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน
ข. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว
ค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะต้องให้ประกันตัวหรือทำสัญญาประกันตัว
ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ พงส.ไม่มีอำนาจจับกุม จึงจะควบคุมตัวไม่ได้


ตัวอย่างรีวิว สอบผ่าน

การสั่งซื้อ และแจ้ง สลิปโอนเงินค่าแนวข้อสอบตำรวจ